ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี RMF vs SSF เลือกประเภทไหนดี

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี
Categories:

หลายคนมักจะตั้งคำถามอยู่บ่อยครั้งว่า ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีตัวไหนดี ระหว่างกองทุน RMF กับกองทุน SSF ซึ่งคำตอบของเราในบทความนี้ จะไม่ชี้นำว่ากองทุนไหนดีกว่ากัน เพราะแต่ละกองทุนต่างก็จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการจะเลือกซื้อตัวไหนดี เราจะเปรียบเทียบเป็นแนวทางให้คุณได้เลือกเองว่า แบบไหนเหมาะกับคุณ ซึ่งไม่แน่ว่าสุดท้ายแล้วคุณอาจจะซื้อทั้ง 2 กองทุนเลยก็เป็นได้ 

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี RMF เงื่อนไขเพื่อการใช้ชีวิตวัยเกษียณ

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้ลงทุนมีเงินสะสมเพื่อ “นำไปใช้จ่ายในยามเกษียณ” จึงทำให้เงื่อนไขของกองทุนนี้ได้กำหนดว่า ต้องถือครองกองทุนอย่างน้อย 5 ปี โดยสามารถลงทุนแบบปีเว้นปีได้ และผู้ลงทุนจะต้องมีอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อนำผลตอบแทนมาใช้จ่ายได้ ซึ่งในปัจจุบันไม่มีการบังคับขั้นต่ำในการซื้อต่อปี และที่สำคัญคือ กองทุนประเภทนี้ไม่มีเงื่อนไขในการจ่ายเงินปันผล ดังนั้นการลงทุนจึงเป็นไปเพื่อการเกษียณอายุโดยเฉพาะ 

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

ส่วนวัตถุประสงค์ทางภาษีของการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี RMF คือ ผู้ลงทุนจะสามารถนำยอดซื้อกองทุนไปหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทแบบปีต่อปี และด้วยการที่ต้องถือครองหน่วยลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี ทำให้กองทุนมีเงื่อนไขเพื่อความยืดหยุ่นในการลงทุน คือ ผู้ลงทุนสามารถสับเปลี่ยนกองทุนเพื่อความเหมาะสมของสถานการณ์เศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลาได้ โดยการสับเปลี่ยนกองทุนจะต้องเป็นการสับเปลี่ยนระหว่างกองทุนรวม RMF ด้วยกันเท่านั้น ไม่สามารถข้ามไปกองทุนประเภทอื่นได้

ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี SSF เพื่อสะสมความมั่งคั่งแบบระยะยาว

กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Funds : SSF) จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนได้ออมเงินระยะยาว สามารถเลือกสินทรัพย์ที่สนใจเพื่อการลงทุนได้ทุกประเภท ตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน โดยเงื่อนไขของกองทุนประเภทนี้ เมื่อซื้อกองทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องถือครองเป็นระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อกองทุนแบบวันชนวัน 

และความยืดหยุ่นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการลงทุน คือ กองทุนประเภทนี้ไม่บังคับให้ต้องลงทุนทุกปี อีกทั้งยังไม่มีการบังคับจำนวนขั้นต่ำในการลงทุน ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถวางแผนภาษีและวางแผนการลงทุนได้ง่าย อีกทั้งนโยบายด้านการลดหย่อนภาษีก็น่าสนใจ เพราะผู้ลงทุนสามารถนำยอดซื้อกองทุนไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยในปัจจุบันได้กำหนดช่วงเวลาในการลดหย่อนภาษีเอาไว้ 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2563-2567 

4 ข้อแตกต่าง ที่ต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี RMF หรือ SSF 

จะสังเกตได้ว่า ข้อมูลของการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง 2 ประเภทข้างต้น มีความเหมือนและความต่างกัน ดังนั้นเพื่อสรุปภาพรวมให้ชัดเจนมากขึ้น เรามาเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 2 กองทุนนี้กันอีกสักรอบ เพื่อเป็นบทสรุปให้คุณได้ตัดสินใจง่ายขึ้น 

  1. นโยบายการลงทุน

ทั้งกองทุน RMF และ SSF มีนโยบายการลงทุนที่เหมือนกัน คือ ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภท ตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน เช่น ตราสารหนี้, ตลาดเงิน, หุ้นต่างประเทศ, หุ้นไทย, ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์โภคภัณฑ์ เป็นต้น 

  1. เงื่อนไขการถือครองกองทุน

กองทุน RMF มีระยะเวลาการถือครองกองทุน 5 ปี และในขณะที่การขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนจะต้องมีอายุครบ 55 ปี ส่วนกองทุน SSF มีระยะเวลาการถือครองกองทุน 10 ปี โดยเมื่อครบกำหนดจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ทันที ไม่มีข้อกำหนดว่าต้องมีอายุครบเท่าไหร่

  1. ข้อผูกมัดในการลงทุน

การซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี ทั้งกองทุน RMF และ SSF ไม่มีการกำหนดยอดขั้นต่ำในการซื้อเหมือนกัน นักลงทุนสามารถซื้อกองทุนได้ตามนโยบายของแต่ละกองทุน แต่สำหรับกองทุนรวม RMF ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนต่อเนื่อง 5 ปี หรือปีเว้นปี ส่วนกองทุนรวม SSF ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องลงทุนทุกปี สามารถเลือกลงทุนในปีที่ต้องการได้

  1. สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

กองทุน RMF จะสามารถนำยอดซื้อไปหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนกองทุน SSF ผู้ลงทุนสามารถนำยอดซื้อไปหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้เหมือนกัน แต่จำนวนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

จากข้อมูลการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีที่กล่าวมา เรียกได้ว่าผู้ลงทุนสามารถซื้อได้ทั้ง 2 กองทุน เพราะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และมีความสำคัญมากพอ ๆ กัน แต่ถ้าต้องเลือกกองทุนใดกองทุนหนึ่ง ให้ผู้ลงทุนเลือกกองทุนที่ตัวเองมีความสนใจ และสามารถรับผิดชอบได้ อย่าเลือกกองทุนเพราะคำแนะนำของบุคคลอื่น นอกจากจะได้อ่านหนังสือชี้ชวนด้วยตัวเอง